ภาษี ดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน ของแสลงของตลาดหุ้น ประกาศจะขึ้นอัตรา/ราคาเมื่อใด เป็นส่งผลกระทบในทิศทางตรงข้ามกันทันที
12 ธันวาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังวางแผนจะจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้น ด้วยยกเว้นจัดเก็บมานาน หากยกเลิก ก็จะสามารถปฏิบัติการได้ทันที
29 พฤศจิกายน 2565 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยวางไว้ 2 อัตรา คือ ปี 2566 จะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.055 และรุ่งขึ้น ในปี 2567 จะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.11
สภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง กับสถานการณ์ความเสี่ยง สงคราม โรคระบาด การแบ่งซีกโลกของมหาอำนาจ ส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน และกำลังซื้อที่ดูจะอ่อนแรงลง
สาระสำคัญที่รัฐบาลมีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา มีเหตุผลที่พอจะประมวลไว้ว่า เป็นการขยายฐานรายได้ เป็นการลดความผันผวนของการซื้อๆ ขายๆ และสนับสนุนให้เป็นการลงทุนระยะยาว
พบว่าทุกหน่วยงานที่เป็น Stakeholders ออกมาขานรับว่า ไม่เห็นด้วย และอาจจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยามนี้
เหตุผลที่เป็นเสียงสะท้อนจากสมาชิกในวิชาชีพต่อการเก็บภาษีการซื้อขายหุ้น ( The Financial Transaction Tax- FTT ) ว่า ไม่เห็นด้วย คือ อาจส่งผลให้ราคาหุ้นผันผวน, ส่งผลให้ต้นทุนในการระดมทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น และที่สำคัญอีกประการ คือ ความสามารถในการแข่งขันของหุ้นไทยลดลง รวมทั้งอาจยังไม่เหมาะสมกับสภาพของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานี้
เติมด้วยมุมมองผ่านงานวิจัย โดย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ ค่ายืดหยุ่น ที่อธิบายอิงไว้ด้วยหลักวิชาการ
เทียบเคียงการปรับอัตราขึ้นภาษีอีก 2 ประเภท คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม-VAT และภาษีนิติบุคคล
พบว่า การจัดเก็บภาษีการขายหุ้นส่งผลกระทบในทางลบต่อการเติบโตของ GDP มากที่สุด ส่วนการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะส่งผลให้มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากที่สุด
ตลาดทุนไทยมีขนาดโตกว่า GDP ของประเทศ เมื่อมีผลกระทบในทิศทางลบ ย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อพลวัตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลชุดปัจจุบันประกาศนโยบายออกมาแล้วว่า จะยังไม่มีการหยิบนโยบายนี้ออกมาประกาศใช้ ในสมัยของเขา
บันทึกช่วยจำ : ยังไม่มีการหยิบยก เรื่อง Capital Gain Tax ขึ้นมาในรัฐบาลชุดนี้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง