วันนี้ตกใจเลย ได้รับจดหมายจากธนาคารมาว่า เงินในบัญชีไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลา 1 ปี และมีเงินคงเหลือในบัญชีต่ำกว่า 2,000 บาท ธนาคารจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเดือนละ 50 บาท และจะหักไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินในบัญชีจะหมด แล้วก็จะทำการปิดบัญชี
ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บนี้ เรียกว่า “ค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝาก” จะเก็บจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวันที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Dormant account) เกิน 12 เดือนเท่านั้น โดยธนาคารจะหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากของเรา หากจำนวนเงินในบัญชีมียอดต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด ซึ่งก่อนที่ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ ธนาคารจะต้องมีหนังสือแจ้งเตือนให้เราทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยต้องแจ้งยอดเงินคงเหลือ เงื่อนไข และอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ ทำให้เรามีเวลาในการจัดการกับบัญชีของตัวเอง หากไม่ต้องการจะเสียค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี เรามี 4 ทางเลือก คือ
บัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 12 เดือน แม้บัญชีจะไม่ถูกปิด แต่จะไม่สามารถใช้งานในการทำธุรกรรมการโอน หรือถอนได้ แต่จะสามารถรับยอดเงินโอนได้ตามปกติ หากต้องการใช้งานบัญชีดังกล่าวจะต้องเป็นการติดต่อที่สาขาธนาคารเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานะบัญชี
ตอนแรกก็โกรธธนาคารที่เราฝากอยู่เหมือนกัน ที่อยู่ๆ จะมาคิดค่าธรรมเนียมเรา แถมยังล็อกไม่ให้เราถอนเงินอีก แต่เมื่อค้นหาข้อมูลก็พบว่า เรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝากนั้น ธนาคารต่างๆ ได้ถือปฏิบัติมานานแล้ว และได้มีการแจ้งลูกค้า โดยการปิดประกาศ และชี้แจงแก่ลูกค้าในเวลาที่มีการขอเปิดบัญชี รวมทั้ง ระบุในใบคำขอเปิดบัญชีด้วย โดยแต่ละธนาคารก็มีแนวทางปฏิบัติแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะต้นทุนและการแข่งขันทางธุรกิจ
โดยทั่วไปสำหรับบัญชีออมทรัพย์จะกำหนดยอดเงินที่ต้องมีขั้นต่ำเพื่อจะได้ไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมอยู่ระหว่าง 500-2,000 บาท และเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝากอยู่ระหว่าง 20-50 บาท/เดือน แต่ถ้าเป็นบัญชีกระแสรายวัน จะกำหนดยอดเงินที่ต้องมีขั้นต่ำอยู่ระหว่าง 1,000-2,000 บาท และเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝากอยู่ระหว่าง 50-100 บาท/เดือน
เมื่อหายโกรธ ก็มาตกใจแทน ตกใจที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝากก็เรื่องหนึ่ง แต่ที่ตกใจกว่าก็คือ ลืมบัญชีเงินฝากนี้ไปจริงๆ ไม่ใช่ว่ารวยนะ แต่เป็นเพราะบัญชีเงินฝากอันนี้เป็นบัญชีสำหรับรับเงินเดือน เมื่อเกษียณแล้ว บัญชีนี้เลยไม่ได้ใช้ แต่ยังมีเงินค้างอยู่ในบัญชี โชคดีที่ธนาคารมีหนังสือแจ้งมา เลยทำให้นึกได้ว่ามีบัญชีนี้อยู่
เพราะถ้ามีเงินในบัญชีตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไปแล้วลืม อาจดูเหมือนว่าโชคดี ธนาคารไม่หักค่าธรรมเนียมในการรักษาบัญชีเงินฝาก แต่ธนาคารก็ไม่มีหนังสือมาแจ้งเราเหมือนกัน นึกดูดีๆ เราอาจลืมไปเลยก็ได้ว่า เรามีบัญชีเงินฝากนี้อยู่ ยิ่งในยุคดิจิทัล ที่ไม่ใช้สมุดบัญชีเงินฝากกันแล้ว ยิ่งลืมได้ง่าย และหากเราเสียชีวิต ลูกหลานเราก็ไม่รู้ว่าเรามีบัญชีเงินฝากนี้ สุดท้ายเงินออมของเรา เราก็ไม่ได้ใช้ ลูกหลานเราก็ไม่ได้ใช้ ไม่ต่างอะไรกับเงินก้อนนี้ขาดทุน 100% เงินต้นกลายเป็นศูนย์
บางท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ อาจมีคำถามในใจว่า “บัญชีเงินฝากของผมไม่เคลื่อนไหวมาหลายปีนับตั้งแต่เกษียณ แต่ทำไมเพิ่งมามีหนังสือแจ้งในตอนนี้ ?” คำตอบก็คือ แม้บัญชีเราไม่มีการเคลื่อนไหว แต่เราอาจเคยตั้งหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติสำหรับค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ ค่าใช้จ่ายพวกนี้ ทางผู้ให้บริการ เช่น การประปาฯ การไฟฟ้าฯ ก็ยังหักตามปกติ ทำให้เงินในบัญชีเราลดลงเรื่อยๆ จนกว่าเงินในบัญชีเราไม่เพียงพอที่จะชำระ ก็จะหยุดหักบัญชี และจะเริ่มเข้าเกณฑ์การพิจารณาบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หากไม่เคลื่อนไหวเกิน 12 เดือน ธนาคารก็จะพิจารณาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินฝากหรือไม่ ก็แล้วแต่ยอดเงินในบัญชีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
ดังนั้น เมื่อบัญชีเงินฝาก เป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่จำเป็น เพื่อการบริหารบัญชีเงินฝากอย่างมีประสิทธิภาพ เราควร
สุดท้าย บางท่านอาจมีคำถามในใจว่า บัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวหากเป็นบัญชีที่มีดอกเบี้ย อย่างเช่น บัญชีออมทรัพย์ เรายังจะได้รับดอกเบี้ยหรือไม่ คำตอบคือ หากบัญชีเป็นบัญชีที่มีดอกเบี้ย เราก็จะได้รับดอกเบี้ยตามปกติครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง