หากถามว่า นักลงทุนหรือเจ้าของธุรกิจ กลัวอะไร ระหว่าง ข่าวร้ายกับข่าวดี คนส่วนใหญ่คงตอบว่า “กลัวข่าวร้าย” ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะคงไม่มีใครชอบข่าวร้าย แต่จริงๆแล้ว คำตอบที่ถูก ก็คือ “นักลงทุน หรือนักธุรกิจ ไม่กลัวทั้งข่าวร้าย หรือข่าวดี เพราะไม่ว่าจะเป็นข่าวร้าย หรือข่าวดี ก็ยังสามารถวางแผนได้ว่าจะลงทุนอะไร หรือจะบริหารธุรกิจอย่างไร” เหมือนอย่างเราจะเดินทางไปที่ไหนซักแห่ง เราก็จะเปิด GPS เส้นทางสีฟ้าคือถนนโล่ง เปรียบเหมือนข่าวดี ส่วนเส้นทางสีแดง คือ รถติด เปรียบเหมือนข่าวร้าย เราจะหลีกเลี่ยง แล้วอย่างนี้ นักลงทุนกลัวอะไร ที่นักลงทุนกลัวก็คือ “ไม่รู้ว่า ร้ายหรือดี” คือ กลัวความไม่แน่นอนนั่นเอง เหมือนอย่างเราจะเดินทางไปที่ไหนซักแห่ง เราก็จะเปิด GPS แต่ครั้งนี้ GPS หรือระบบล่ม ทำให้ไม่รู้ว่าจะเดินทางไปที่หมายยังไง ใช้เส้นทางอะไรสะดวกสุด
การเดินทางไปเป้าหมายไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเดินทางของชีวิตยากกว่า และไม่มี GPS บอกทางด้วยว่าระหว่างทาง เราจะเจออะไร แต่อย่างหนึ่งที่การเดินทางในชีวิตที่ทุกคนจะพบแน่นอน ก็คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แถมอีกอย่าง คือ ภาษี เหมือนอย่างที่ Benjamin Franklin หนึ่งในผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า “ความตาย และภาษี คือ 2 สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”
เรื่องที่เกี่ยวข้องทั้ง”ความตาย และภาษี” ก็คือ ภาษีการรับมรดก ที่จะเก็บก็ต่อเมื่อ
คนเสียภาษี คือ “คนรับมรดก” เสียเมื่อ “มีการรับมรดก” คือ มีครบ ประธาน กริยา และกรรม หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ฐานภาษีการรับมรดก คือ มรดกสุทธิ คือ มรดกที่เหลือจากการจ่ายคืนเจ้าหนี้ คือ มรดกส่วนที่ลูกหลานได้รับจริงๆ โดยเสียภาษีเฉพาะมูลค่าทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท อย่างเช่น ได้รับมรดกสุทธิมา 110 ล้านบาท ส่วนที่คนรับมรดกต้องเสียภาษีการรับมรดก คือ 110 – 100 = 10 ล้านบาท โดยเสียภาษีร้อยละ 10 แต่ถ้าคนรับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานเสียภาษีร้อยละ 5
มรดกที่ต้องเสียภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน คือ
ดังนั้น หากจะวางแผนภาษีการรับมรดก เราสามารถวางแผนได้หลายวิธี อย่างเช่น
ถ้าคนที่มีมรดกเยอะ ก็อาจบริหารด้วยการทยอยให้ โดยให้ลูกหลานไม่เกินปีละ 10-20 ล้านบาท/ปี แต่ถ้ามีมรดกเยอะมากๆ ต่อให้แบ่งให้ก่อนเสียชีวิตทุกปี ลูกหลานก็ยังต้องเสียภาษีการรับมรดกอยู่ดี
ทั้ง 2 วิธี มักจะก่อให้เกิดปัญหาลูกหลานทะเลาะกัน
วิธีนี้ถึงแม้ว่าไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก แต่มีข้อเสียหลายอย่าง ลองนึกภาพการที่เรามีเงินสดหรือทองคำกองอยู่ในบ้าน ย่อมมีความเสี่ยงที่จะถูกปล้นชิงทรัพย์มากแน่นอน
แปลว่าหากสิ่งที่เราทิ้งให้ลูกหลานไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย สิ่งนั้นก็ไม่ใช่มรดก เมื่อสิ่งนั้นไม่ใช่มรดก คนรับก็ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก อย่างเช่น ทิ้งเป็นผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิตให้ลูกหลาน ซึ่งบริษัทประกันจะจ่ายสินไหมกรณีเสียชีวิตให้เมื่อผู้ประกันถึงแก่กรรม สินไหมจึงเป็นทรัพย์สินหลังตายจึงไม่ใช่มรดก ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 “สิทธิในการได้รับเงินประกันชีวิต เกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย”
หากพิจารณาวิธีทั้งหมดแล้ว วิธีที่ได้ผลดีที่สุด จัดการง่ายสุด ปลอดภัยสุด ก็คือ การทำประกันชีวิต โดยเจ้ามรดกเป็นผู้เอาประกัน และผู้รับประโยชน์ คือ ลูกหลานที่เจ้ามรดกตั้งใจให้ได้รับมรดก เพราะนอกจากลูกหลานไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกดังกล่าว ประกันชีวิตยังการันตีมูลค่าทรัพย์สินที่ลูกหลานจะได้รับด้วย แต่ที่สำคัญก็คือ ต้องทำประกันชีวิตตอนที่ยังมีสุขภาพดี
บทความที่เกี่ยวข้อง