สินค้าใหม่ “คาร์บอนเครดิต” ขายก๊าซในอากาศ

โดย สิริพร สงบธรรม จังตระกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
Carbon Credit banner 1200x660
Highlight

“ความเจริญ” ทำให้มนุษย์คิดค้นคว้าสิ่งต่างๆ มาบริโภค สิ่งแวดล้อมจึงถูกทำลาย น้ำเน่า ขยะเต็มทะเล ร้อน แล้ง อากาศแปรปรวน ต้นไม้เตียน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และพยากรณ์กันว่า น้ำทะเลจะสูงขึ้น ผืนแผ่นดินที่มี 1 ใน 3 ของโลก และเป็นผืนน้ำ 2 ใน 3 อาจเกิดน้ำท่วมโลก

จากการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2566 มีประเด็น “อินเทรนด์” ที่น่าสนใจ จึงขอเก็บเกร็ดมาเล่าสู่กันฟัง และอาจเป็นข้อมูลอีกชิ้น ที่อาจเป็นปัจจัยประกอบในการตัดสินใจลงทุนในยุค BCG

ย้อนเวลาไปราว 15 ปี ในแวดวงของตลาดหุ้นไทย มีข่าวอินเทรนด์ ที่หลายบริษัทหันไปเกาะติด ทำธุรกิจนี้ อย่างมีผลต่อราคาหุ้น คือ การทำธุรกิจ “พลังงานทดแทน” ทำโรงไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ โดยเฉพาะเมืองไทยเมืองร้อน จึงใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีร่องลมนำมาพัดเทอร์บายด์หมุนกังหัน ใช้พลังงานน้ำมาผลิตไฟฟ้า ประจวบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต-กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค-กฟภ. ลงทุนผลิตไฟฟ้าไม่ทัน และมีงบลงทุนจำกัด เพราะเมืองไทยโตไว เมื่อมีเงินลงทุน ไหลเข้าประเทศ เข้ามาตั้งโรงงาน ทำธุรกิจมากขึ้น จึงมีนโยบายซื้อไฟฟ้าจากเอกชน แถมมีค่า “แอดเดอร์”  ให้อีกหน่วยละ 8 บาท ในยุคต้นๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนกล้าลงทุน (เป็นเหตุที่ เป็นประเด็นการเมือง นั่นแหละ-ขอเว้นวรรค ไม่วิพากษ์ต่อ)

หลายบริษัท จึงมักมีโครงการแนวๆ การลงทุนด้านพลังงานทดแทนบรรจุเป็นโครงการในอนาคตว่าจะทำอย่างโน้น อย่างนี้ ออกข่าวคราวใด หุ้นวิ่งทันตา

เวลาผ่านไป…พิสูจน์ได้ว่า ใครเป็น “ตัวจริง ” ในสนามการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ใครเป็น “ตัวปลอม ” สะท้อนจากราคาหุ้นเช่นกัน

carbon credit

เวลานี้… ถึงยุค BCG ที่มนุษย์หันกลับมามองสิ่งแวดล้อม กลายเป็น “คนดี” ของสังคม เป็น “เงื่อนไข ” ทางการค้า  ที่หากไม่มี จะกลายเป็นตัวร้ายและไม่ค้าขายด้วย

“ความเจริญ” ทำให้มนุษย์คิดค้นคว้าสิ่งต่างๆ มาบริโภค สิ่งแวดล้อมจึงถูกทำลาย น้ำเน่า ขยะเต็มทะเล ร้อน แล้ง อากาศแปรปรวน ต้นไม้เตียน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และพยากรณ์กันว่า น้ำทะเลจะสูงขึ้น ผืนแผ่นดินที่มี 1 ใน 3 ของโลก และเป็นผืนน้ำ 2 ใน 3 อาจเกิดน้ำท่วมโลก

การมีโรงงานอุตสาหกรรมหนัก ใช้พลังงานฟอสซิล-น้ำมัน ถ่านหิน ที่ขุดจากใต้พื้นโลก ปล่อยความร้อน จนท้องฟ้าทะลุ เปิดช่องชั้นบรรยากาศให้รังสีพิษ ส่องลงมายังโลกได้

ไม่ได้การล่ะ…ชาวโลกจึงหันหน้ามาคุยกัน กลายเป็นข้อตกลงระดับสากลให้ช่วยกันทั้งโลก จึงเป็นที่มาของธุรกิจใหม่ คือ สินค้าการขายออกซิเจน ที่เรียกอีกคำว่า เป็นการลด “คาร์บอนมอนน็อกไซด์”-ก๊าซพิษ

เป็นการคำนวณปริมาณของการปล่อยก๊าซพิษของพื้นที่ทั้งโลก หากใครลดปริมาณไม่ได้ ก็เปิดโอกาสให้ซื้อจากคนที่ผลิตได้ - - ผลิตด้วยการใช้ธรรมชาติ เช่น ปลูกต้นไม้ แล้วคำนวณจากสีเขียวของต้นไม้ พวกเขามี “ออกซิเจน” ที่ปล่อยออกมา แล้วนำไปขายให้กับคนที่ลดเองไม่ได้ จึงกลายเป็นสินค้าใหม่ ที่ชาวโลกเขาคุยกันบนความทันสมัย เรียกเก๋ๆ ว่า การขาย “คาร์บอนเครดิต ” ของโลกยุค BCG ไงล่ะ

สินค้าใหม่ตัวนี้จึงเป็นสินค้า “อินเทรนด์” ของหลายเวที ที่ผู้บริหารพูดถึงในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น หรือการไปเป็นวิทยากรในงานสัมมนาต่างๆ ว่าอาจต้องใช้เงินลงทุน และได้รับผลตอบแทน เท่านั้น เท่านี้

วัฎจักรเช่นนี้ อาจกำลังกลับมาวนเวียนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ว่าใครเป็น “ตัวจริง”  

ขอแนะนำหน่วยงานที่ก้าวขึ้นมากำกับดูแลเรื่องนี้ คือ “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)-อบก.”  ซึ่งทำหน้าที่ เป็นตลาด เป็นคนกลาง เป็นศูนย์ข้อมูล

ข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566 อบก.ระบุว่า มีบัญชีผู้ถือครองคาร์บอนเครดิต 337 บัญชี มีการซื้อขาย “คาร์บอนเครดิต” กันแล้ว  (ระหว่าง ตุลาคม 2565-กุมภาพันธ์ 2566) ราว 100,000 ตัน มูลค่า ราว 4 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ย 37 บาท/ตัน)

โลกออนไลน์ที่ข้อมูลทะลุทะลวงถึงกันเพียงลัดนิ้วมือ เช็คข้อมูลกันก่อน ก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tgo.or.th



บทความที่เกี่ยวข้อง