ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการเข้าร่วมบริหารกิจการ ผ่าน “มติ ” ของตัวเองในการใช้สิทธิลงมติของการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น อาทิ การรับทราบผลการดำเนินงานว่า มีกำไร ขาดทุน อย่างไร ผู้บริหารมีคำอธิบายอย่างไร การลงมติ เลือกกรรมการบริษัท+ค่าตอบแทน เลือกผู้สอบบัญชี+ค่าตอบแทน และมีสิทธิตามเสียงของการถือหุ้นในการลงมติ “ไม่เห็นชอบ” หากพบว่ามีวาระ “ไม่ชอบมาพากล” หรือเรียกว่าโหวต NO
อย่าได้ท้อแท้ว่า มีหุ้นในมือนิดเดียว ยังไงก็แพ้เสียงโหวตข้างมาก อย่างน้อยเสียงที่ค้านจะคานไว้ว่า จะใช้คำว่า “มติเป็นเอกฉันท์” ไม่ได้
พบว่า การประชุมผ่านระบบ Online มีมาตรฐานเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายด้านดิจิทัล เท่านั้น ยังไม่เชื่อมมายังแนวปฏิบัติบนหลักธรรมาภิบาลที่คุ้นเคยกันของของผู้ถือหุ้น กับการประชุมแบบ Physical-พบกันตัวเป็นๆ มองตาแล้วรู้ใจ ยิ้มทักทายกันปีละครั้ง
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการที่ดำเนินการการจัด AGM Online หรือ AGM Providers จึงพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การให้บริการผู้ถือหุ้น ระบบงานสามารถให้บริการได้ทุกแบบ เพียงแต่ว่า “ลูกค้า” ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนนั้น จะเลือกใช้บริการหรือไม่ บางบริการไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม แต่บางบริการอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มตามค่างานบ้าง ซึ่งพบข้อมูลต่อไปอีกว่า “ไม่เลือก” ผิดไปจากธรรมชาติของการประชุมแบบ Physical
อาทิ การเข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว มีระยะเวลาพอสมควรในการลงทะเบียนเข้าระบบ มีระบบเตือนก่อนเวลาประชุม 24 ชั่วโมง มีระบบส่งคำถามได้ล่วงหน้า และสามารถเห็นคำถามของผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ที่เข้ารวมประชุมได้ เช่นเดียวกับการประชุมแบบ Physical
ขยายความว่า ด้วยเทคโนโลยี จะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้ในทุกกรณีข้างต้น
สำนักงาน ก.ล.ต. เคยมีหนังสือเลขที่ กลต.นร.(ว) 2/2567 ลว.10 มกราคม 2567 เรื่อง ขอความร่วมมือการจัดประชุมผู้ถือหุ้น : แบบ On-site meeting หรือแบบผสมที่มีการจัดประชุมทั้งแบบ E-meeting ควบคู่กัน หรือเรียกว่า Hybrid จะช่วยให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มสามารถเข้าร่วมประชุม เพื่อพบปะสื่อสารและซักถามข้อสงสัยกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้สะดวกยิ่งขึ้น
สถิติในการจัดประชุมแบบผสม Hybrid ในปี 2567 มีจำนวน 54 บริษัทจดทะเบียน หรือราวร้อยละ 7
ผู้ถือหุ้นจึงควรวางตัวเองรับมือกับการประชุม AGM แบบ Online เพื่อติดตามดูแลเงินลงทุนของตัวเอง ตาม “สิทธิ+หน้าที่ ” เป็นเบื้องต้น จากนั้น จึงจะเป็น “อำนาจ+หน้าที่ ” ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับไป
บันทึกช่วยจำ :
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินโครงการ “การประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ปี 2549
ในปี 2568 เป็นปีที่ 20 ในการทำหน้าที่ในฐานะองค์กรตัวแทนผู้ถือหุ้นรายบุคคล มีสถิติภาคสนามในหลายมิติ ติดตามกันได้ที่ FB@tia.society
บทความที่เกี่ยวข้อง