สาเหตุหนึ่งของปัญหาการเงิน คือการขาด“ทักษะทางการเงิน หรือ Financial Literacy” ที่ดี โดยการสำรวจทักษะทางการเงินโดย จิราภรณ์ แผลงประพันธ์ และทีม TDRI พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะทางการเงินของคนไทยอยู่ที่ 62.8% ใกล้เคียงกับคะแนนทักษะทางการเงินของกลุ่มประเทศ OECD ในปี 2558 (62.9%)
แม้ว่าคะแนนทักษะทางการเงินของไทย ดูเหมือนจะใกล้เคียงกับ OECD แต่เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบซึ่งคะแนนทักษะทางการเงินมาจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ “ความรู้ทางการเงิน” “พฤติกรรมทางการเงิน” และ “ทัศนคติทางการเงิน” พบว่า
“ความรู้ทางการเงิน” เป็นด้านที่คนไทยอ่อนที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 56.7% ทั้งนี้ ความรู้ทางการเงินคือทักษะในการคิดคำนวณดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยทบต้น ความรู้เรื่องเงินเฟ้อ การกระจายความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจด้านการเงินของแต่ละคน
หลายคนอาจจะคิดในใจว่า ความรู้ทางการเงินเป็นเรื่องยาก ไม่แปลกที่คนไทยจะไม่เข้าใจ แต่จริงๆ แล้ว ความรู้ทางการเงินระดับที่นักวิจัยวัดกัน เป็นความรู้ทางการเงินพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบริหารเงินในชีวิต โดยนักวิจัยในวงการนี้มักตั้ง 3 คำถามหลักๆ เพื่อวัดระดับความรู้เรื่องทางการเงิน ดังนี้ครับ
ก. มากกว่าที่ซื้อได้ในวันนี้
ข. เท่ากับที่ซื้อได้ในวันนี้
ค. น้อยกว่าที่ซื้อได้ในวันนี้
ก. จริง
ข. เท็จ
ง่ายจนไม่ต้องเฉลยใช่ไหมครับ ข้อแรกวัดความเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยทบต้น (ตอบ ก. มากกว่า 102 บาท) ข้อสองวัดความเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อ (ตอบ ค. น้อยกว่าที่ซื้อได้ในวันนี้) ส่วนข้อสามวัดความเข้าใจเรื่องการกระจายความเสี่ยง (ตอบ ข. เท็จ)
แต่ทราบหรือไม่ว่าคนทั่วโลกไม่ถึงครึ่งที่สามารถตอบคำถามการเงินแสนเบสิคเหล่านี้ได้
งานวิจัยในสหรัฐฯ พบว่าผู้ใหญ่เพียง 65% เท่านั้นที่เข้าใจเรื่องดอกเบี้ยทบต้น 64% ที่เข้าใจเรื่องเงินเฟ้อ และ 52% ที่เข้าใจเรื่องการกระจายความเสี่ยง
ส่วนในประเทศไทยค่าเฉลี่ยของผู้ใหญ่ที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ถูกต้องอยู่ที่แค่ 27% เท่านั้น
ถ้าเราเชื่อผลวิจัยนี้ แปลว่า 7 จาก 10 คนที่เราเดินผ่าน นั้นไม่มีความเข้าใจใดๆ เกี่ยวกับสามเสาหลักของโลกการเงินเลยแม่แต่น้อย
ความรู้เรื่องทางการเงินตกต่ำแล้วกระทบอะไรบ้าง
ความบกพร่องทางความรู้เรื่องทางการเงินสามารถอธิบายความเหลื่อมล้ำในความมั่งคั่ง (wealth inequality) ในวัยชราได้ถึง 30 ถึง 40%
(https://www.forbes.com/sites/pensionresearchcouncil/2017/12/14/a-financial-literacy-test-that-works/)
รายงานของธนาคารโลก พบว่าคนที่ความรู้เรื่องทางการเงินบกพร่อง โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินในหมู่ชาวอเมริกัน ทำให้พวกเขามีภาระหนี้สูงขึ้นและมีต้นทุนในการยืมเงินสูงขึ้น
(http://documents.worldbank.org/curated/en/264001468340889422/pdf/WPS6107.pdf)
เหตุผลหนึ่งคือ พบว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันคิดว่าตนมีคะแนนเครดิตที่ดีเกินจริง โดยคนที่ความรู้เรื่องทางการเงินบกพร่องยิ่งอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งทำให้พวกเขาคาดการณ์ต้นทุนทางการเงินไม่ถูก จนทำให้ใช้จ่ายหรือกู้ยืมเกินตัว
จุดนี้สำคัญและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากการคาดการณ์เงินเฟ้อโดยผู้บริโภคหรือผู้คนมากมายนั้น เป็นหนึ่งใน input สำคัญข้างในการวางแผนนโยบายการเงินหรือการวิเคราะห์โมเดลเศรษฐกิจมหภาค
ที่น่าสนใจคือ Bruine de Bruin et al. (2010) พบว่ายิ่งคนเรามีความรู้เรื่องทางการเงินน้อยเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น คำอธิบายหนึ่งคือในกลุ่มคนที่ฐานะไม่ค่อยดีจะคิดถึงประสบการณ์ส่วนตัวในช่วงเวลาที่ราคาปรับขึ้นมากกว่าเวลาราคาปรับลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนกลุ่มที่เคยเผชิญภาวะเงินเฟ้อสูงๆ มาก่อนในกลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกา
(https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1745-6606.2010.01174.x)
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ยิ่งจำเป็นที่พวกเราควรศึกษาหาความรู้ทางการเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นะ
บทความที่เกี่ยวข้อง