“โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน นอกจากความตายและภาษี”....เบนจามิน แฟรงคลิน
แม้รู้ทั้งรู้ว่าหนีความตาย หนีภาษีไม่พ้น หลายคนก็พยายามหาวิธีที่จะหนีความตายและภาษีอยู่ดี โดยเฉพาะการหนีภาษี (Tax Evasion) คือการหลบเลี่ยงไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงโดยฝ่าฝืนกฎหมาย วิธีนี้ผิด 100% ถ้าสรรพากรตรวจพบก็จะมีความผิดตามกฎหมาย อีกวิธีที่นิยมไม่แพ้กัน ก็คือ การหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) คือ การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงโดยเข้าใจว่าไม่ผิดกฎหมาย วิธีนี้คือ เราจะประหยัดภาษีโดยวิธีที่เราเข้าใจไปเองว่าไม่ผิดกฎหมาย ทั้ง 2 วิธีถือว่ามีความเสี่ยง
การวางแผนภาษีที่ดี คือ ต้องถูกกฎหมายเป็นอันดับหนึ่ง ประหยัดภาษีเป็นอันดับสอง วิธีที่ใช้กัน ก็คือ อะไรที่เราลดหย่อนภาษีได้ เราก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้เต็มที่
สิทธิลดหย่อนภาษีมีมากมาย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ค่าลดหย่อนประกันและการลงทุน ฯลฯ ที่น่าสนใจมาก ก็คือ ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุนนี้แหละ เพราะเงินที่เราออมในประกันและการลงทุนไม่ได้หายไป ยังเป็นของเราอยู่ แถมผลประโยชน์ที่ได้ถ้าทำถูกต้องตามเงื่อนไข ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย เรียกว่า ได้ประโยชน์ภาษี 2 เด้ง คือ ลดหย่อนภาษีได้ ผลประโยชน์ที่ได้ไม่ต้องเสียภาษี
การออมเงินที่ได้ประโยชน์ภาษี 2 เด้ง ที่อยากคุยในวันนี้ คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่นอกจากประโยชน์ด้านภาษีแล้ว ยังเป็นการสร้างเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ เพื่อเตรียมตัวเราให้พร้อมที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเราเองในสังคมคนสูงอายุที่ทวีความน่ากลัวขึ้นทุกๆ ปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF ที่เราจะได้ มีดังนี้
หมายเหตุ: การนับระยะเวลา 5 ปี จะนับเฉพาะปีที่เราได้ซื้อ RMF เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 ถ้าผิดเงื่อนไข ก็จะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องคืนภาษีที่ได้ยกเว้นย้อนหลัง 5 ปี แต่ถ้ายื่นภาษีเพิ่มเติมภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5%/เดือน
สรุปก็คือ
ตัวอย่างเช่น หากปีนี้เราซื้อ RMF 100,000 บาท ได้เงินภาษีคืนมา 20,000 บาท (ถ้าเราไม่ซื้อ RMF เงินภาษี 20,000 บาทนี้จะอยู่ที่สรรพากร พูดง่ายๆ เราขาดทุนภาษี 20,000 บาทอยู่แล้ว) ปีหน้าเราขาย RMF ทั้งก้อนได้เงินมา 140,000 บาท (เป็นเงินต้น 100,000 บาท กำไร 40,000 บาท) เนื่องจากเราถือแค่ปีเดียว (ไม่ถึง 5 ปีตามเงื่อนไข) เราก็ต้องคืนภาษี 20,000 บาท แต่ถ้าเราคืนภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป เราจะไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5%/เดือน แปลว่า เราได้ภาษีมา 20,000 บาท ตอนคืนก็คืน 20,000 บาท จะเห็นว่าเราไม่ขาดทุนอะไรเลย
ส่วนกำไร 40,000 บาทต้องเสียภาษี เพราะถือไม่ถึง 5 ปี สมมติอัตราภาษีเราอยู่ที่ 20% กำไร 40,000 บาท เราต้องเสียภาษี 20% คือ 8,000 บาท เราก็ยังมีเงินเหลือ 32,000 บาท สรุปก็ยังมีเงินเหลือในกระเป๋ามากกว่าไม่ซื้อ RMF อยู่ดี
สรุปการไม่ผิดเงื่อนไข 5 ปีดีกว่าข้อ ก. ตรงผลประโยชน์ที่ได้ไม่ต้องเสียภาษี ตัวอย่างเช่น สมมติเราถือ RMF มาได้ 9 ปี ซื้อปีละ 100,000 บาท รวมเงินต้น 900,000 บาท ได้ภาษีคืนปีละ 20,000 บาท รวม 9 ปี ได้ภาษีคืน 180,000 บาท ถ้าเราขายคืน RMF ในปีที่ 10 ได้เงินมา 1,000,000 บาท เราต้องคืนภาษีย้อนหลัง 5 ปี เท่าที่เราได้ลดหย่อนคือ 100,000 บาท (ถ้าเราคืนภาษีโดยยื่นภาษีเพิ่มเติมภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป) ส่วนภาษีที่ได้ลดหย่อน 80,000 บาทที่เหลือ สรรพากรไม่ทวงคืน แถมกำไรที่ได้ 100,000 บาท ยกเว้นภาษีให้อีก
การลงทุนใน RMF เป็นการลงทุนที่ให้แต่สิทธิประโยชน์ด้านภาษี โดยเราไม่เสียประโยชน์ทางภาษีใดๆ หากทำตามเงื่อนไข ดีที่สุด คือ ลงทุนต่อเนื่อง และถือ RMF ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอน RMF เมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าผิดเงื่อนไขเมื่อไหร่ ก็เพียงไปเสียภาษีให้ถูกต้องภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปพร้อมกับการยื่นภาษีเงินได้ก็พอ เราก็จะไม่เสียประโยชน์ทางภาษีใดๆ
****ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๐๑) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ****
บทความที่เกี่ยวข้อง