Program & High Frequency Trading และแนวทางกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค

โดย SET
HFT
Highlight

SET Note ฉบับที่ 7/2566 : Program & High Frequency Trading และแนวทางกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค จัดทำโดย ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งเทศไทย

Key Findings:

  • การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์อัตโนมัติโดยประมวลผลและตัดสินใจซื้อขายด้วยโปรแกม หรือ program trading (PT) เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั่วโลก เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งคำสั่งซื้อขาย โดยนักลงทุนกลุ่ม high-frequency trading (HFT) จัดเป็นนักลงทุน program trading ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้กลยุทธ์ที่เน้นความเร็วสูงและไม่นิยมถือครองหลักทรัพย์ไว้นาน โดย HFT คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ และประมาณ 24-43% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในยุโรปในปี 2020 และ 9% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปี 2022
  • 80% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดของนักลงทุนกลุ่ม HFT กระจุกตัวอยู่เฉพาะในหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ (กลุ่ม SET100) และ 96% ของจำนวนหลักทรัพย์ใน SET100 มี HFT ร่วมซื้อขายอยู่เพียงไม่เกิน 15% ของมูลค่าซื้อขายในแต่ละหลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ขนาดกลางและเล็ก (กลุ่มนอก SET100) พบว่าเกือบทั้งหมดมี HFT ร่วมซื้อขายอยู่ไม่เกิน 10%
  • ตลาดหลักทรัพย์สำคัญในภูมิภาค (ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย) ปฏิบัติต่อ PT/HFT เหมือนนักลงทุนทั่วไป สามารถซื้อขายได้ทุกหลักทรัพย์และไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการเป็นนักลงทุนประเภทนี้ รวมถึงไม่มีการใช้ระบบใดๆ เพื่อชะลอความเร็วของคำสั่งซื้อขายที่ส่งมา
  • ตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ในภูมิภาครวมถึงไทยกำหนดให้ PT/HFT ต้องลงทะเบียนก่อนจึงสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาได้ เพื่อช่วยให้การกำกับดูแลและควบคุมความเสี่ยงรัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึงมีข้อปฏิบัติเพื่อการบริหารความเสี่ยงที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตาม เพื่อการตรวจจับคำสั่งซื้อขายที่อาจส่งผิด พลาดโดยไม่ตั้งใจ หรือป้องกันการส่งคำสั่งในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกระทบต่อภาพรวมตลาดได้
SET-Infographics-20-2023-LO8-TH

อ่าน SET  Note  ฉบับเต็ม >> คลิกที่นี่

“SET…Make it Work for Everyone”

แท็กที่เกี่ยวข้อง: SETSOURCE SET


บทความที่เกี่ยวข้อง