รายงานประจำปี 2560

85 2. การบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลและ จัดการความเสี่ยงที่สำคัญในทุก ๆ ด้าน ที่อาจส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งการบริหาร ความเสี่ยงดังกล่าวเป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยง ของ COSO 1 Enterprise Risk Management Framework และสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำ โดยความเสี่ยง ที่ได้รับการประเมินในระดับค่อนข้างสูงขึ้นไป จะมีการ กำหนดตัวชี้วัดสถานะความเสี่ยง (Key Risk Indicator: KRI) เพื่อใช้ติดตามและปรับแผนการบริหารความเสี่ยงตาม ความเหมาะสม ทั้งนี้ ความเสี่ยงดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่ ด้านกลยุทธ์ (strategic) ด้านการปฏิบัติงาน (operation) ด้านการเงิน (financial) และด้านการไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (compliance) ดังนี้ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยง เชิงกลยุทธ์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพิจารณากำหนดทิศทาง ของกรอบกลยุทธ์องค์กรในระยะยาว และการกำหนดแผน กลยุทธ์และงบประมาณประจำปี โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ โดยมี คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงกลั่นกรองและให้ความเห็น ในประเด็นความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ก่อนนำเสนอต่อ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อพิจารณา รวมทั้ง การติดตามการดำเนินงานตามแผนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย หลักภายใต้แผนกลยุทธ์ในแต่ละด้าน รวมถึงการออกสินค้า และบริการใหม่ และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประจำ อาทิ การพัฒนาระบบ FundConnext เพื่อให้เกิดการเข้าถึงการลงทุนในกองทุนรวม ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีมาตรฐาน รวมทั้ง การดำเนิน การเป็นตัวกลางในระบบการชำระเงินสำหรับตลาดทุน เพื่อเสริมสร้างให้บริการด้านการชำระเงินของอุตสาหกรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงด้านการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แยกประเภทความเสี่ยงด้านการเงิน ออกเป็น 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงจากการที่สมาชิกสำนักหัก บัญชีไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพัน และความเสี่ยงจากการลงทุน ความเสี่ยงจากการที่สมาชิกสำนักหักบัญชีไม่ปฏิบัติ ตามภาระผูกพัน ในช่วงปีที่ผ่านมาบริษัทสำนักหักบัญชี(ประเทศไทย)จำกัด (Thailand Clearing House Company Limited: TCH) ในฐานะที่เป็น Central Counterparty: CCP สำหรับ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยังคง มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการบริหารความเสี่ยงให้มีมาตรฐานที่ดี และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง โดยใน ปี 2560 ได้มีการประเมินมูลค่าความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ทั้งด้านหลักทรัพย์ (securities market) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives market) ของ สำนักหักบัญชี เพื่อให้มั่นใจว่าสำนักหักบัญชีมีสภาพคล่อง เพียงพอรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึง ได้มีการประเมิน reverse stress test ทั้งด้าน credit และ ด้าน liquidity เพื่อประเมินหาสถานการณ์ที่จะทำให้แหล่ง เงินทุนและสภาพคล่องของสำนักหักบัญชีไม่เพียงพอ อีกทั้ง TCH ได้เริ่มดำเนินการตามแนวทางการจัดการกรณีที่มี สมาชิกผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์โดยใช้วิธีการ pending settlement ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 เพื่อป้องกัน การเกิด debit balance ตามที่มาตรฐานสากลกำหนด นอกจากนี้ TCH ยังได้มีการกำหนดแนวทางการบริหาร ความเสี่ยงในกระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้าทองคำให้มี ความรัดกุมและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ร่วมตลาด เพื่อรองรับการชำระราคาและส่งมอบสำหรับสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% (Gold-D) ทั้งนี้ TCH มีการกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสมาชิก ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน (delivery agent) และตัวแทน รับฝากทรัพย์สิน (vault operator) เพื่อสร้างความมั่นใจ แก่ทุกฝ่ายในกระบวนการฝากและส่งมอบทองคำ ความเสี่ยงจากการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการลงทุนตามนโยบายและ สัดส่วนการบริหารเงินลงทุนที่กำหนดโดยคณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีคณะทำงานบริหารเงินลงทุน ควบคุมดูแลการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายและสัดส่วน ที่กำหนด นอกจากนี้ ยังมีการติดตามสถานะความเสี่ยง จากการลงทุน และรายงานต่อคณะทำงานบริหารเงินลงทุน 1 The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission: COSO

RkJQdWJsaXNoZXIy ODkzODc=