รายงานประจำปี 2560
29 และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย การเดินหน้าพัฒนาบริการหลังการซื้อขายเป็นมาตรฐานสากล โดยปรับรอบระยะเวลาชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ เป็น 2 วันทำการ (T+2) นอกจากนี้ ยังขยายบทบาท ในเวทีโลก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สมาชิกสามัญประจำปีของสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก WFE General Assembly & Annual Meeting ครั้งที่ 57 หลังกรรมการและผู้จัดการได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ World Federation of Exchanges: WFE ในปี 2559 ความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการพัฒนาเชิงปริมาณ ควบคู่กับคุณภาพ เป็นแรงผลักดันสำคัญในการยกระดับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้โดดเด่นเป็นตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำ ของภูมิภาค หัวใจหลักของความสำเร็จดังกล่าว เกิดจากการ ดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ และการทำงานร่วมกับ องค์กรในภาคตลาดทุน ตามแผนกลยุทธ์ผลักดันเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ดังนี้ 1. การขยายโอกาสการระดมทุน (Fund-raising Cultivator) ในปี 2560 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมให้ธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากตลาดทุนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ธุรกิจ ในหลายอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศได้เข้าระดมทุนผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ และยังเป็นครั้งแรกที่มีธุรกิจจากต่าง ประเทศเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และที่สำคัญ ยังได้ขยายการทำงานด้านการเป็นแหล่งระดมทุนไปยัง ผู้ประกอบการใหม่ ๆ ในกลุ่ม startup และ SMEs รวมถึง พัฒนาความรู้และส่งเสริมศักยภาพให้บริษัทจดทะเบียน เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการขยายตัว ของอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ ประเทศ 1.1 การผลักดันให้มีหลักทรัพย์คุณภาพเข้าจดทะเบียน ในปี 2560 บริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ (Initial Public Offering: IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มีจำนวนถึง 42 หลักทรัพย์ โดยมูลค่าหลักทรัพย์ ตามราคาตลาดรวมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 426,349 ล้านบาท และสูงสุดใน ASEAN-5 นับว่ามีส่วนสำคัญ ในการขยายขนาดของตลาดหลักทรัพย์ไทย ในจำนวนนี้ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 25 บริษัท และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 17 บริษัท ทั้งนี้ ในปี 2560 ธุรกิจได้ระดมทุนจากการ IPO เพื่อไปเพิ่มศักยภาพและ ขยายกิจการ มูลค่าระดมทุนรวมทั้งสิ้น 106,280 ล้านบาท โดยมูลค่าการระดมทุนผ่าน IPO สะสมตั้งแต่ปี 2557-2560 สูงสุดในภูมิภาค ASEAN-5 เช่นเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้ธุรกิจที่มีศักยภาพมาจดทะเบียนตลอดช่วงที่ผ่านมา ในปี 2560 มีหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ระดมทุนผ่าน IPO ได้แก่ บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) มีมูลค่าหลักทรัพย์ ตามราคาตลาด 95,998.50 ล้านบาท นับเป็นหลักทรัพย์ IPO ที่มูลค่าสูงที่สุดในรอบ 16 ปี บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ (TPIPP) มูลค่า 58,800 ล้านบาท บมจ. ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) (TOA) มูลค่า 48,696 ล้านบาท และ บมจ. บี. กริม เพาเวอร์ (BGRIM) มูลค่า 40,668.80 ล้านบาท นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีส่วนสนับสนุนการเติบโต ของผู้ประกอบการภายใต้นโยบายภาครัฐ Thailand 4.0 เพื่อ ขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ โดยมีบริษัท ในหมวดธุรกิจบริการทางการแพทย์เข้าจดทะเบียน 4 บริษัท ขณะเดียวกัน มีบริษัทขนาดกลางและเล็กเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 17 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจการบริการ และอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง นับว่าตลาดทุนไทยได้ทำหน้าที่เป็นช่องทาง การระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี ปี 2560 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายบทบาทการเป็น ช่องทางระดมทุนแก่ธุรกิจ จากธุรกิจในประเทศ ขยายสู่ กิจการในระดับภูมิภาค โดยเป็นปีแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหลักทรัพย์จากต่างประเทศเต็มรูปแบบเข้าจดทะเบียน คือ “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แบบต่ออายุ ได้เพื่อธุรกิจโรงแรมและสิทธิการเช่าสตราทีจิก ฮอสพิทอลลิตี้ (SHREIT)” ซึ่งเป็น REIT ที่ลงทุนในโรงแรมชั้นนำ ในอินโดนีเซียและเวียดนาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy ODkzODc=